อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ปรับความเร็วรอบ เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในการปรับรอบการทำงานของมอร์เตอร์ (motor)
ซึ่งในการปรับมอร์เตอร์ให้เหมาะสมจะช่วยให้ระบบการทำงานถูกต้องและช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับมอร์เตอร์ได้ด้วยเช่นกัน
ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์
1. ลักษณะการทำงานเชิงกล
- แรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load) เช่น พัดลม ปั๊มน้ำ
- แรงบิดคงที่ (Constant Torque Load) เช่น ลิฟท์ คอนเวเยอร์
- แรงบิดคงที่ (Constant Torque Load) เช่น ลิฟท์ คอนเวเยอร์
2. หาข้อมูลมอเตอร์จากเนมเพลท
หาค่ากระแสและกำลังมอเตอร์เมื่อขับโหลดเต็มกำลัง
การเลือกขนาดของ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะดูจากขนาดกระแสและกำลังของมอเตอร์ แต่กระแสที่พิกัดนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อใช้ที่แรงดัน..แตกต่างจากเนมเพลทหรือความเร็วใช้งานต่างจากที่ระบุบนเนมเพลท เช่น มอเตอร์ 12 โพลทำงานที่ 540 รอบ/นาที จะกินกระแสสูงกว่ามอเตอร์ 4 โพล ทำงานที่ความเร็วรอบ 1750 รอบ/นาที ถึงแม้ค่ากิโลวัตต์จะเท่ากัน หาค่าความเร็วรอบมอเตอร์เมื่อทำงานเต็มกำลัง การเลือกมอเตอร์เพื่อขับโหลดอย่างเหมาะสม เราจะต้องทราบค่าความเร็วและแรงบิดที่โหลดต้องการ เพื่อใช้ในการคำณวนค่ากำลังของมอเตอร์ (กำลังมอเตอร์= แรงบิด x ความเร็วรอบ )
3. พิจารณาช่วงความเร็วรอบ,ความร้อนและประสิทธิภาพของมอเตอร์
ความเร็วรอบสูงสุดของมอเตอร์สูงกว่าความเร็วที่ 50 Hz
โหลดแบบแรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load)
การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมดวามเร็วของปั๊มและพัดลม เราควรตั้งค่าความเร็วสูงสุด (HSP) ไว้ที่พิกัดของอัตราการไหลที่เราต้องการ หากเราตั้งค่าไม่เหมาะสมจะทำให้มอเตอร์และปั๊ม ทำงานโอเวอร์โหลด
โหลดแบบแรงบิดคงที่ (Constant Torque Load)
การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมความเร็วของเครื่องจักรแบบต้องการแรงบิดคงที่ เช่น สายพานลำเลียงที่ระดับความเร็วสูงกว่า 50 Hz จำเป็นจะต้องตรวจสอบดูความสามารถของมอเตอร์ก่อนว่าตลับลูกปืนที่เพลามอเตอร์ทำงานได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องดูอีกว่าจะมีชิ้นส่วนอย่างอื่นหลุดกระเด็นออกจากเครื่องจักรมาทำอันตรายคนหรือไม่
โหลดแบบแรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load)
การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมดวามเร็วของปั๊มและพัดลม เราควรตั้งค่าความเร็วสูงสุด (HSP) ไว้ที่พิกัดของอัตราการไหลที่เราต้องการ หากเราตั้งค่าไม่เหมาะสมจะทำให้มอเตอร์และปั๊ม ทำงานโอเวอร์โหลด
โหลดแบบแรงบิดคงที่ (Constant Torque Load)
การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมความเร็วของเครื่องจักรแบบต้องการแรงบิดคงที่ เช่น สายพานลำเลียงที่ระดับความเร็วสูงกว่า 50 Hz จำเป็นจะต้องตรวจสอบดูความสามารถของมอเตอร์ก่อนว่าตลับลูกปืนที่เพลามอเตอร์ทำงานได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องดูอีกว่าจะมีชิ้นส่วนอย่างอื่นหลุดกระเด็นออกจากเครื่องจักรมาทำอันตรายคนหรือไม่
4. แรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร(Breakaway Torque)
พิจารณาความต้องการแรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร (Breakaway Torque) Breakaway Torque หมายถึง แรงบิดตอนสตาร์ทออกตัวที่เครื่องจักรต้องการจากมอเตอร์ เพื่อให้เครื่องจักรหมุนได้และเป็นตัวกำหนดค่ากระแสที่พิกัดของอินเวอร์เตอร์ด้วย ส่วนใหญ่จะบอกค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของแรงบิดเมื่อเครื่องจักรทำงานเต็มที่ (Full Load) Breakaway Torque ของเครื่องจักรแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เมื่อเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ต้องพิจารณาค่านี้เสมอ ถ้าหากเราเลือกค่านี้ผิด จะทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานไม่ได้และมอเตอร์จะไม่สามารถสตาร์ทออกตัวได้
5. การเร่งความเร็ว(Acceleration Requirement)
การเร่งความเร็วในช่วงเวลาที่ต้องการ (Acceleration Requirement) การเร่งความเร็วของมอเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรเดินที่ความเร็วรอบที่ต้องการ มอเตอร์จะใช้ กระแสจากอินเวอร์เตอร์ ไปสร้างแรงบิดอีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่า “Acceleration Torque ”
ข้อควรจำ สำหรับการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์เราจะต้องพิจารณา Acceleration Torqueให้ถูกต้อง ถ้าเราเลือกผิดจะมีปัญหาดังนี้
1) การปรับตั้ง Acceleration Torque ผิดจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (Trip, Fault)
2) หากปรับตั้ง Acceleration Torque สูงมากเกินไปจะทำให้เครื่องจักรเสียหายได้
ข้อควรจำ สำหรับการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์เราจะต้องพิจารณา Acceleration Torqueให้ถูกต้อง ถ้าเราเลือกผิดจะมีปัญหาดังนี้
1) การปรับตั้ง Acceleration Torque ผิดจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (Trip, Fault)
2) หากปรับตั้ง Acceleration Torque สูงมากเกินไปจะทำให้เครื่องจักรเสียหายได้
6. การลดความเร็ว (Deceleration Requirement)
ในการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ทำไมต้องพิจารณา Deceleration Torque ?
1) ขณะมอเตอร์ลดความเร็ว มอเตอร์จะจ่ายพลังงานคืนให้กับระบบและตัวอินเวอร์เตอร์ดังนั้นถ้าเราตั้งค่าไม่ถูกต้องจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (trip, fault)
2) แรงบิดขณะลดความเร็ว (Deceleration Torque) หากมีค่าสูงเกินไป สามารถทำให้เครื่องจักรเสียหายได้
1) ขณะมอเตอร์ลดความเร็ว มอเตอร์จะจ่ายพลังงานคืนให้กับระบบและตัวอินเวอร์เตอร์ดังนั้นถ้าเราตั้งค่าไม่ถูกต้องจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (trip, fault)
2) แรงบิดขณะลดความเร็ว (Deceleration Torque) หากมีค่าสูงเกินไป สามารถทำให้เครื่องจักรเสียหายได้
7. สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์
สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ เราจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้
1) อุณหภูมิรอบข้าง โดยปกติอุณหภูมิรอบข้างของอินเวอร์เตอร์จะถูกกำหนดไว้ที่ 0-50 องศาเซลเซียส
หากท่านนำไปติดตั้งในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส ท่านจะต้องเพิ่มขนาดกิโลวัตต์ของอินเวอร์เตอร์ด้วย
2) ความชื้นในบริเวณที่ติดตั้ง
3) ความสามารถในการป้องกันฝุ่นและน้ำ
สอบถามข้อมูล-รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-9444511
1) อุณหภูมิรอบข้าง โดยปกติอุณหภูมิรอบข้างของอินเวอร์เตอร์จะถูกกำหนดไว้ที่ 0-50 องศาเซลเซียส
หากท่านนำไปติดตั้งในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส ท่านจะต้องเพิ่มขนาดกิโลวัตต์ของอินเวอร์เตอร์ด้วย
2) ความชื้นในบริเวณที่ติดตั้ง
3) ความสามารถในการป้องกันฝุ่นและน้ำ
สอบถามข้อมูล-รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-9444511