โดยเฉพาะระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพราะเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบ
ตรวจวัดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น กำหนดตำแหน่ง ควบคุมปริมาณ
คัดแยกชิ้นงาน หรืออื่นๆ เพื่อให้ระบบดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
ดังนั้นหากเลือกใช้เซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแม่นยำ ก็จะส่งผลให้กระบวนการผลิต
มีคุณภาพที่ดีเยี่ยมตามไปด้วย Sensor แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติได้ดังนี้
** Photo Electric Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีวัตถุที่
** Photo Electric Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีวัตถุที่
เราต้องการตรวจจับโดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่มากระทบวัตถุ
และสะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์
** Proximity Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ใช้สำหรับตรวจจับ
การมีหรือไม่มีวัตถุโดยอาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่
เหล็กหรือสนามไฟฟ้า แบ่งได้ 2 แบบ
1. ชนิดสนามแม่เหล็ก (Inductive)
2. ชนิดสนามไฟฟ้า (Capacitive)
** Fiber Optic Sensor มีทั้งแบบสะท้อนวัตถุโดยตรง และแบบแยกตัวรับ
ตัวส่งระยะการตรวจจับขึ้นอยู่กับชนิด รุ่น และคุณสมบัติของใยแก้วนำแสง เหมาะสำหรับงาน
ที่ใช้ตรวจจับวัติถุขนาดเล็ก ใช้งานในพื้นที่ติดตั้งน้อย
** Laser Sensor สวิทช์ลำแสง เปรียบเสมือนตาวิเศษ เป็นอุปกรณ์ที่
ทำงานเหมือนสวิทช์ทางกล แต่ว่ามีข้อดีแตกต่างจากเซ็นเซอร์ตรวจจับชนิดอื่นๆ
เมื่อวัตถุบังลำแสงเอาท์พุทจะเปลี่ยนสถานะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดระยะทาง
โดยใช้แสงเลเซอร์ การคำนวณจะคิดจากหลักการสะท้อนของแสง
แล้วนำมาดูว่าแสงมีเฟสเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
** Area Sensor มีทั้งแบบสะท้อนวัตถุโดยตรง และแบบแยกตัวรับ ตัวส่ง ระยะการตรวจจับขึ้นอยู่กับชนิด
รุ่น และคุณสมบัติของใยแก้วนำแสง เหมาะสำหรับงานที่ใช้ตรวจจับวัติถุขนาดเล็ก ใช้งานในพื้นที่ติดตั้งน้อย